top of page
processing.png

1. ทำความรู้จัก KidBright

KidBright คืออะไร?

      KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัว (Embedded Board) สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ควบคุมขนาดจิ๋ว จะทำงานตามคำสั่งที่ผู้ใช้สร้างขึ้นผ่านโปรแกรมสร้างชุดคำสั่งแบบบล็อก (Block Based Programming) ชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นจะถูกส่งไปยังบอร์ด KidBright เพื่อให้บอร์ดทำงานตามคำสั่งทำให้ผู้เรียนได้เห็นการทำงานจริงของชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นแบบเรียลไทม์เพื่อให้เข้าใจบอร์ด KidBright ได้ดียิ่งขึ้นจึงขอขยายความคำว่าสมองกลฝังตัวและคำว่าระบบปฏิบัติการ สมองกลฝังตัวคือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่นำไปฝังไว้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความฉลาดของอุปกรณ์นั้น ๆ ผ่านซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานที่แตกต่างจากระบบประมวลผลในคอมพิวเตอร์สมองกลฝังตัวถูกใช้อย่างแพร่หลายในเครื่องใช้ไฟฟ้ายานพาหนะและอุปกรณ์สื่อสารการที่สามารถนำไปฝังไว้ในอุปกรณ์นี้เองทำให้มีชื่อเรียกว่าสมองกลฝังตัวโดยการพัฒนาซอฟต์แวร์ควบคุมการทํางานบนระบบสมองกลฝังตัวสามารถพัฒนาโดยใช้หรือไม่ใช้ระบบปฏิบัติการก็ได้

ภาษา Block คืออะไร?

       ภาษาบล็อก หรือ Blocky เป็นภาษาใหม่ที่ทาง Google ได้พัฒนาขึ้นมา โดยจะเป็น Visual Programming Language หรือก็คือ Graphical Programming Language ที่ให้ผู้ใช้งานทำการลากบล๊อกแต่ละตัวที่เป็นตัวแทนชุดคำสั่งที่แตกต่างกันมาต่อกันจนเป็นชุดคำสั่ง เป็นลำดับขั้นตอนการทำงาน แล้วจะสามารถทำงานได้เหมือนกับโปรแกรมทั่วๆไปได้เลย

0.5.png

การทำงานของบอร์ด KidBright

      KidBright ประกอบด้วย 2 ส่วนคือบอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright และโปรแกรมสร้างชุดคำสั่ง KidBright IDE โดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่าน KidBright IDE โดยการลากและวางบล็อกคำสั่งที่ต้องการจากนั้น KidBright IDE จะ Compile และส่งชุดคำสั่งดังกล่าวไปที่บอร์ด KidBright เพื่อให้บอร์ดทำงานตามคำสั่งอาทิรดน้ำต้นไม้ตามระดับความชื้นที่กำหนดหรือเปิดปิดไฟตามเวลาที่กำหนด

1.4.png

บอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright 

องค์ประกอบของบอร์ด KidBright

2.5.PNG

โปรแกรมสร้างชุดคำสั่ง KidBright IDE

องค์ประกอบต่างๆของบอร์ด KidBright(ด้านหน้า)

1.6.png
1.7.png
1.8.png
1.9.png

องค์ประกอบต่างๆของบอร์ด KidBright(ด้านหลัง)

1.10.png
1.11.png
1.11.png

คำสั่งควบคุมการทำงานของ บอร์ด KidBright

1.12.png
1.13.png
1.14.png
1.15.png
1.16.png

แผนการจัดการเรียนรู้

เอกสารประกอบการเรียนรู้

เอกสารอ้างอิง

        • ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, “สนุก Kid สนุก Code กับ KidBright”, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561 หน้า 34 ถึง 56

        • ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. 2559 “KidBright จากจินตนาการสู่ความเป็นจริง” Available: สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2562. จาก http://www.siamschool.net/picupload/s_website/088336397.doc

        • Wits. 2559 “ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded system)” Available: สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2562. จาก https://morasweb.org/2016/06/15/embedded-system/

1.17.png
1.18.png
1.19.png
1.22.png
1.20.png
1.21.png
bottom of page