วัตถุประสงค์บทเรียน
- การวิเคราะห์ส่วนประกอบ -
ผูรียนสามารถวิคราะห์ส่วนประกอบองชุดคสั่งและผังงานองระบบจากโจทย์และคอธิบายโปรแกรมที่กหนดใหได้
- การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ -
ผูรียนสามารถออกแบบผังงานแสดงความสัมพันธ์องการทำงานของระบบ พร้อมทั้งทำการสร้างชุดคำสั่งบอร์ด KidBright ได้ตามข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนด
- การวิเคราะห์หลักการ -
ผูรียนสามารถทำำการเขียนชุดคำสั่งตามหลักการการียนโปรแกรมต่างๆไดอย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหาบทเรียนบนเครือข่าย
จะประกอบไปด้วยเนื้อหาสองส่วน ดังนี้
โครงงานคอมพิวเตอร์
ศึกษาพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างงานในรูปแบบต่าง ๆ หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ลักษณะของการทำโครงงาน จากปัญหาหรือเรื่องที่สนใจจะศึกษา วิเคราะห์รูปแบบกระบวนการ ดำเนินงานโครงงาน แนวทางการประยุกต์คอมพิวเตอร์กับโครงงาน
ปฏิบัติการสร้างโครงงานโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ โดยใช้ความรู้ ความคิด จินตนาการ ทักษะ เหตุผล และกระบวนการต่างๆ ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ มาเชื่อมโยงสัมพันธ์กันจนเกิดความรู้ใหม่ที่มีความหมายสอดคล้อง และเชื่อมโยงกันได้ โดยมีการบูรณาการความรู้ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมด้วย
เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเกิดเจตคติที่ดีทำให้สามารถ ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้ และสามารถนำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการสร้างโครงงานได้อย่างมีจิตสานึก และมีความรับผิดชอบ
บอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright
บอร์ดสมองกลฝังตัว คือ บอร์ดสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว ออกแบบมาเพื่อใช้เรียนรู้และช่วยย่นระยะเวลาในการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวให้ทำได้รวดเร็วขึ้น เหมาะสำหรับนักพัฒนาทั้งในระดับเริ่มต้นหรือนักศึกษาเพื่อการเรียนรู้และสำหรับนักพัฒนาที่มีประสบการณ์เพื่อให้สามารถนำไปพัฒนาเป็นอุปกรณ์ เครื่องมือ ผลิตภัณฑ์ หรือประยุกต์ใช้ควบคุมในงานที่เกี่ยวข้องได้ในทันที รวมถึงสามารถพัฒนาให้อุปกรณ์สื่อสารข้อมูลระหว่างกันและเชื่อมต่อกับ Internet of Things ได้ (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ , 2560)
บอร์ด KidBright ก็เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่ง โดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม KidBright IDE หรือ KB IDE บนคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานง่าย เพียงใช้การลากบล็อกคำสั่งมาวางต่อกัน (Drag and Drop) ช่วยลดความกังวลเรื่องการพิมพ์ชุดคำสั่งผิด ชุดคำสั่งที่ถูกสร้างดังกล่าวจะถูกส่งไปที่บอร์ด KidBright ให้ทำงานตามที่โปรแกรมไว้ เช่น รดน้ำต้นไม้ตามระดับความชื้นที่กำหนด หรือเปิด-ปิดไฟตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น
รายวิชาที่เหมาะในการนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน
วิทยาการคำนวณ ม.4
เนื่องจากในรายวิชานี้ วิทยาการคำนวณ (Computing science) เป็นวิชาที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนให้เด็กสามารถคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) มีความพื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) และมีพื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and information literacy) และมีเนื้อหาในส่วนของการแก้ไขปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาโครงงาน
โครงงานคอมพิวเตอร์
เนื่องจากเป็นวิชาฝึกปฏิบัติทำโครงงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการทำโครงงาน โดยใช้ความรู้ ความคิด จินตนาการ ทักษะ เหตุผล และกระบวนการต่างๆ ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์ โดยมีการบูรณาการความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ หรือความรู้ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมในการพัฒนาโดยใช้กระบวนการเทคโนโลยี การบวนการสืบค้น กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการคิดวิเคราะห์
SUBMITTED by
นางสาวพชรกร ภูภักดิ์ (ครูหนามเตย)
{ Miss Phacharakorn Poopuk }
ประวัติการศึกษา
• ปริญญาโท : สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สควค.)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
• ปริญญาตรี : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
• มัธยมศึกษา : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม)